การสร้างแบรนด์ เรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจควรทำก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ เชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจออนไลน์น่าจะเคยประสบปัญหาและมีคำถามแบบนี้
- เพราะอะไรสินค้าหรือบริการของเราจึงยังไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจออนไลน์เท่าที่ควร ทั้งที่เราก็มั่นใจว่าคุณภาพของเราดีกว่าคู่แข่งอีกหลาย ๆ เจ้า?
- ทำไมยิงแอดโฆษณาแล้วผลตอบรับยังไม่ดีเลย? ลูกค้าทักน้อย ยอดขายก็ยังน้อยอยู่
- นำสินค้าลง Marketplace แบบ Shopee , Lazada แต่ยังขายไม่ดีเลย เป็นเพราะอะไร?
- จัดโปรโมชั่นดีกว่าคู่แข่ง แต่ยอดขายกลับน้อยกว่า เป็นเพราะอะไร?
และอีกหลายคำถามทำนองนี้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไปโฟกัสการแก้ปัญหาด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น เทคนิคการยิง Google Ads, เทคนิคการยิง Facebook Ads, เทคนิคการเขียนคอนเทนต์ เป็นต้น
ซึ่งจริง ๆ แล้วคำตอบและการแก้ปัญหาอาจจะง่ายกว่านั้นมาก นั่นคือ สินค้าหรือธุรกิจของคุณยังไม่มีการ สร้างแบรนด์ หรือยังสร้างแบรนด์ได้ไม่ดีพอนั่นเอง
หัวข้อ (คลิกเลือกอ่านได้)
การ สร้างแบรนด์ คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?
การ สร้างแบรนด์ คือ การหาจุดเด่นให้สินค้า ให้ธุรกิจ หรือ ให้บริษัทของเรา และนำมาสื่อสารให้ลูกค้ารับรู้และจดจำได้ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ จุดเด่นที่ว่านี้ต้องมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจสินค้ากิ๊ฟช็อปที่นำเข้าสินค้ากิ๊ฟช็อปจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันนี้การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ใช่เรื่องยากเลย ใครๆ ก็ทำได้ เพราะมีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกมากมาย ช่วยให้การซื้อขายและการนำเข้า-ส่งออกเป็นเรื่องง่าย เช่น Aribaba, Aliexpress และยังมีบริษัทที่รับจ้างนำเข้าสินค้าอีกเป้นจำนวนมาก
สำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้ามาและขายทั้งอย่างนั้นโดยไม่ สร้างแบรนด์ ไม่มีการหาจุดเด่นหรือข้อแตกต่างจากคู่แข่งอะไรเลย จะกลายเป็นว่าเราขายสินค้าที่เหมือนกับเจ้าอื่นเป็นสิบเจ้าเป็นร้อยเจ้า
ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ มีคู่แข่งที่ลูกค้านำไปเปรียบเทียบจำนวนมาก และปัจจัยสำคัญเลยที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อก็คือ ราคา เจ้าไหนที่ราคาถูกสุด ก็จะซื้อจากเจ้านั้น เป็นสงครามราคาที่ลูกค้าพร้อมเปลี่ยนใจไปจากเราได้เสมอเมื่อพบเจ้าที่ถูกกว่า
ในโลกออนไลน์ที่การค้นหาสินค้าต่าง ๆ ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิก ลูกค้าจะสามารถจดจำได้เฉพาะสินค้าหรือธุรกิจที่มีแบรนด์เท่านั้น ดังนั้นการ สร้างแบรนด์ ที่ดี และการสื่อสารแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจออนไลน์ที่กล่าวถึงข้างต้นได้อย่างหมดจดทีเดียว
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเราสร้างแบรนด์ธุรกิจของเราดีแล้วหรือยัง? บทความนี้ของ StartUp Now มี 2 เช็คลิสต์การสร้างแบรนด์ที่ทุกธุรกิจควรทำก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์มาฝาก เริ่มเช็คไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
2 เช็คลิสต์การสร้างแบรนด์ที่ทุกธุรกิจควรทำก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์
เช็คลิสต์การ สร้างแบรนด์ ข้อที่ 1: Brand Concept Check
คือ การตรวจสอบว่าแบรนด์ของเรา มีจุดเด่นหรือจุดแตกต่างที่ดีกว่าหรือเหนือกว่าคู่แข่ง แล้วหรือยัง? รวมถึงจุดเด่นนั้นมีพลังมากพอที่จะทำให้ลูกค้าสนใจหรือตัดสินใจซื้อสินค้าของเราหรือไม่?
ซึ่งจุดเด่นใน Brand Concept Check นี้ ทางการตลาดเราเรียกกันว่า Unique Selling Proposition หรือ USP หมายถึง จุดขายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเหนือคู่แข่งที่อยากให้ลูกค้าจดจำได้ ซึ่งแบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารประเด็น USP เหล่านี้ซ้ำ ๆ ผ่านทางคอนเทนต์ ผ่านทางโฆษณา ในทุก ๆ ช่องทางการตลาดที่แบรนด์มี
ตัวอย่างการหา Unique Selling Proposition เพื่อ การสร้างแบรนด์
จากตัวอย่างธุรกิจสมมติด้านล่างนี้ เป็นแบรนด์ธุรกิจน้ำผลไม้ กำหนดแบรนด์คอนเซปท์ที่เป็นจุดเด่นของแบรนด์ที่เหนือคู่แข่ง โดยลิสต์ออกมาได้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการผลิต (PROCESS) รสชาติ (TASTE) แหล่งเพาะปลูก (SOURCE) ความเป็นธรรมชาติแท้ ๆ (NATURAL) ดีต่อสุขภาพ (HEALTHY)
ให้สังเกตว่าถึงแม้หัวข้อที่เลือกมาจะดูเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่น้ำผลไม้ส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักนำมาโฆษณากัน แต่เรามีการสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยการใส่ส่วนอธิบายเพิ่มเติมที่ไม่เหมือนใคร เช่น เรื่องรสชาติที่ไม่แตกต่างจากการทานผลไม้สด ๆ หรือ เรื่องแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดของไทย ซึ่งคำขยายความเหล่านี้ ถ้าเราทำได้อย่างทรงพลังมากพอ และมีความสม่ำเสมอในการสื่อสารตอกย้ำเรื่อย ๆ ลูกค้าจะจดจำเราได้จากคำขยายความเหล่านี้นี่เอง
การนำ Unique Proposition ไปใช้ใน การสร้างแบรนด์ ธุรกิจ
ผู้ประกอบการหลายคนเจอปัญหาว่าไม่รู้ว่าจะโพสต์อะไร การที่เราทำ Unique Proposition นอกเหนือจากการหาจุดเด่นให้ตัวเอง หรือ การสร้างแบรนด์ ให้ตัวเองได้แล้ว เรายังได้ประเด็นสำคัญ ๆ ที่เราจะต้องนำไปสื่อสารในช่องทางการตลาดต่าง ๆ อีกด้วย
สิ่งที่เราต้องทำเป็นลำดับต่อไปหลังหา Unique Propostion หรือ จุดเด่นที่เป็นจุดขายของแบรนด์เราได้แล้วก็คือ การนำเอาจุดเด่นเหล่านี้ไปสื่อสารซ้ำ ๆ ให้ลูกค้า หรือ คนทั่วไปจำจดได้ว่าแบรนด์น้ำผลไม้ของเราดีกว่าเจ้าอื่นเพราะ 5 ประเด็นหลักตามที่เราลิสต์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออฟไลน์ เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ ฉลากสินค้า ฯลฯ หรือช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook, IG, เว็บไซต์ เป็นต้น
หลักการตรวจสอบ Brand Concept Check
- ดูว่าสินค้า หรือ แบรนด์ของเรา มี Unique Selling Proposition หรือยัง?
- ดูว่า Unique Selling Proposition ที่เรามีนั้น มีเอกลักษณ์โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งหรือไม่? มีส่วนขยายความที่เหนือกว่าหรือดีกว่าคู่แข่งอย่างไร?
- ต้องจดจำไว้เสมอว่า Brand Concept ที่ดี นอกจากต้องโดดเด่น และ แตกต่างจากคู่แข่งแล้ว ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เมื่อนำไปสื่อสารย่อมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
- ถ้ามีครบทั้ง 3 ข้อแล้ว ให้ดูเรื่องการสื่อสาร ว่าการทำการตลาดของเราผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้สื่อสาร Brand Concept เหล่านั้นครบถ้วนแล้วหรือยัง? คำขยายความที่เลือกใช้ชัดเจนและทรงพลังมากเพียงพอให้ลูกค้าจดจำได้หรือไม่?
เช็คลิสต์การ สร้างแบรนด์ ข้อที่ 2: Brand Design Check
สำหรับเช็คลิสต์ข้อนี้ก็คือ การตรวจสอบว่าแบรนด์ของเรามีการกำหนดแนวทางการออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ แสดงตัวตนแบรนด์ของเราให้ลุกค้าและคนทั่วไปจดจำได้หรือไม่
Brand Design Check จะมีความแตกต่างจาก Brand Concept Check ตรงที่ Brand Concept Check จะเป็นเรื่องของการสื่อสาร แต่ Brand Design Check จะเป็นเรื่องของการออกแบบ จึงเป็นรูปธรรม จับต้องมองเห็นได้ชัดเจนมากกว่า และที่สำคัญคือ สามารถสร้างการจดจำแบรนด์ได้มากกว่า
Brand Design สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?
การที่ลูกค้าจดจำเราได้ว่าเราเด่นเรื่องอะไรอาจจะยังไม่พอสำหรับการตลาดยุคปัจจุบันที่ในแต่ละวันคนเสพคอนเทนต์ต่าง ๆ กันเยอะมาก บางครั้งขณะที่เราเล่นเฟสบุ๊ค มักจะมีเนื้อหา มีรูปภาพ มีโฆษณาต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาในหน้า News Feed ของลูกค้าเราเต็มไปหมดเลย การที่เราสร้างเอกลักษณ์ในทางดีไซน์ของแบรนด์เราขึ้นมา จะช่วยทำให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปจดจำเราได้ง่ายขึ้นค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดถึงผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ถ้าเป็นแบรนด์สีเขียวทุกคนจะตอบได้เลยว่า AIS ถ้าเป็นแบรนด์สีฟ้าทุกคนก็จะนึกถึงแบรนด์ DTAC และถ้าเป็นแบรนดืสีแดงก็จะนึกถึง TRUE แบบนี้เป็นต้น
สาเหตุที่เราจดจำได้ ก็เพราะว่าแบรนด์เหล่านี้มีการกำหนดลักษณะการออกแบบสื่อการตลาดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และนำเสนอการออกแบบที่กำหนดนั้นอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะทางออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ก็ตาม
จากตัวอย่างที่ยกมา ในธุรกิจให้บริการสัญญาณมือถือ มีแค่ 3 รายเท่านั้นที่เป็นเจ้าตลาด แต่ในโลกของธุรกิจที่เราทำการตลาดกันอยู่ บางธุรกิจอาจจะมีคู่แข่งมากเป็นสิบ ๆ ราย หรือเป็น 100 รายเลยก็ได้ หากเราทำการตลาดยิงโฆษณาเฟสบุ๊ค หรือยิง Google Ads ไปหาลูกค้า ลูกค้าจะเห็นโฆษณาเราเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นก่อนจะเลื่อนปลายนิ้วผ่าน หรือ กดปิดโฆษณาไป หากเราไม่มีเอกลักษณ์ทางด้านดีไซน์หรือการออกแบบ ก็เป็นเรื่องยากที่ลูกค้าจะสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้แม้ว่าจะเห็นโฆษณาของเราอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม
Brand Design Book ช่วยกำหนดการออกแบบ
Brand Design Book หรือ Brand Identity Guideline คือ ข้อกำหนดด้านการออกแบบของแบรนด์ โดยส่วนใหญ่มักจัดทำออกมาเป็นรูปเล่ม หรือ รวบรวมเป็นอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์ โดยมีองค์ประกอบการออกแบบที่กำหนดไว้ดังนี้
- โลโก้ และ วิธีการใช้โลโก้ที่ถูกต้อง รวมถึงข้อห้ามหรือการใช้โลโก้ที่ผิด
- คู่สีประจำแบรนด์
- ตัวอักษรประจำแบรนด์
- ลายกราฟิคประจำแบรนด์
- ไอคอนที่ออกแบบมาเฉพาะของแบรนด์
- การจัดวาง (lay out) ประจำแบรนด์
- สัญลักษณ์ที่ใช้แทนชื่อแบรนด์
ข้อแนะนำจาก StartUp Now
ในส่วนของแบรนด์ดีไซน์ ถ้าเราเป็น SME มีงบประมาณไม่มาก เราสามารถที่จะหาเอกลักษณ์บางอย่างด้วยตัวเองได้ เช่น อาจจะใช้คู่สี หรือคุม Mood & Tone ของการออกแบบในทุกๆ สื่อให้เหมือนหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น
- หาสีประจำแบรนด์ และให้คุมโทนสีการออกแบบโดยใช้เฉดสีเดิมในทุกๆ ชิ้นงานออกแบบ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นโบชัวร์ เฟสบุ๊ค โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ต่าง ๆ
- หาสัญลักษณ์แทนแบรนด์ของเรา เช่น นกแอร์มีสัญลักษณ์เป็นปากนก DTAC มีสัญลักษณ์กังหัน เป็นต้น และนำสัญลักษณ์เหล่านั้นไปใส่ไว้ในงานออกแบบ เช่น โพสต์ Facebook, รูปโปรไฟล์หรือภาพหน้าปก Facebook, ปกโบรชัวร์, คัทเอาท์, แบคดรอปที่ใช้ออกบูธ, ฯลฯ
บทสรุป
2 เช็คลิสต์ การสร้างแบรนด์ ที่ทุกธุรกิจควรตรวจสอบแบรนด์ของตนเองก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ ได้แก่
- BRAND CONCEPT CHECK : ตรวจสอบการสื่อสารแบรนด์
- BRAND DESIGN CHECK: ตรวจสอบการออกแบบ
ฝากทั้ง 2 เช็คลิสต์เอาไว้ให้ทุกคนลองนำไปตรวจสุขภาพแบรนด์ของตัวเองกันค่ะ
อย่าลืมติดตามข่าวสาร สาระ เรื่องราวดิจิตอล ฉบับเข้าใจง่ายได้ทุกวันที่ Facebook Fanpage ของ StartUp Now นะคะ STARTUP NOW Facebook Fanpage
อ่านเรื่องการตลาดดิจิตอลเพิ่มเติมได้ที่นี่ บทความการตลาดออนไลน์
อยากดูคลิปความรู้ดิจิตอลฉบับเข้าใจง่ายคลิปอื่น ๆ ไปเยี่ยมชมช่อง YouTube ของ StartUp Now กัน