วิทยากร สอนการตลาดออนไลน์ อบรมธุรกิจ E-Commerce ด้วยประสบการณ์การทำแบรนด์ด้วยตนเองและทำการตลาดออนไลน์กว่า 9 ปี เชี่ยวชาญการสร้าง Brand และการทำการตลาดผ่าน Facebook
ธุรกิจช่วงโควิด-19 ระบาดรอบสองต้องบอกเลยนะคะว่าน่าเป็นห่วงมาก ๆ เพราะถึงแม้ว่าเราจะเรียนรู้วิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 มาบ้างแล้วจากการระบาดในรอบแรก แต่ผลกระทบทางเศรฐกิจที่สืบเนื่องมาจากครั้งแรกนั้นยังส่งผลกระทบอยู่ พอมาครั้งนี้ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงพีคของการแพร่ระบาดโรครอบใหม่อีกครั้ง จึงทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลง ส่วนธุรกิจที่ยังอยู่ก็ต้องปรับแผน เปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานกันวุ่นไปหมดเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้ ซึ่งทางขวัญเองก็อยากจะเป็นกำลังใจให้ทุกธุรกิจฝ่าฟันอุปสรรคครั้งนี้ไปให้ได้ ก็เลยอยากจะมาแนะนำยุทธศาสตร์การตลาด 5 วิธี ที่น่าจะช่วยให้ธุรกิจของทุก ๆ คนสามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ ในคลิปด้านล่างนี้ขวัญได้แนะนำยุทธศาสตร์การปรับแผน ธุรกิจช่วงโควิด-19 เพื่อรับมือกับการระบาดรอบสองเอาไว้ 5 วิธีด้วยกัน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การตลาดที่ขวัญพิสูจน์มาแล้วด้วยตัวเองนะคะว่ามีประสิทธิภาพและใช้ได้ผลจริง ๆ เมื่อปรับตามนี้แล้วธุรกิจของเราไม่เพียงแต่จะเอาตัวรอด ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้แบบไม่เจ็บตัว ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นให้ชื่นใจอีกด้วยค่ะ ขวัญอยากให้ทุกท่านที่ได้ดูคลิปหรืออ่านบทสรุปใต้คลิปจบแล้ว ลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนดูนะคะ กลยุทธที่1 – ทำ ธุรกิจช่วงโควิด-19 ต้องหาจุดเด่นที่แตกต่างสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น เหมือนจะเป็นการเร่งให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัว ปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าในช่วงโควิด นั่นก็คือการซื้อ-ขายออนไลน์ คนที่ไม่เคยขายออนไลน์เลยจะถูกผลักเข้าสู่การตลาดออนไลน์ให้ต้องมาเริ่มขายของในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, หรือ…
มีผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อยเลยนะคะที่ยังคงใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวในการทำธุรกิจออนไลน์อยู่ โดยมีการโพสต์ขายสินค้าต่างๆ ลงไปในเฟสบุ๊คส่วนตัวของตัวเอง ซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำก็ได้! วันนี้ขวัญ มี 5 เหตุผลมาอธิบายว่าทำไมเราถึงไม่ควรที่จะใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวในการทำธุรกิจค่ะ เหตุผลข้อที่ 1: Facebook ส่วนตัวจำกัดจำนวนเพื่อนและผู้ติดตาม แต่แฟนเพจมีผู้ติดตามได้ไม่จำกัด บัญชีส่วนตัวของเฟสบุ๊คไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับคนจำนวนมากค่ะ ปัจจุบันเฟสบุ๊คกำหนดจำนวนเพื่อนและผู้ติดตามสำหรับบัญชีเฟสบุ๊คส่วนตัวอยู่ที่ 5,000 คนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากนะคะหากเราต้องการทำธุรกิจ นำเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าจำนวนมาก เหตุผลข้อที่ 2: เฟสบุ๊คส่วนตัวไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือได้มากเท่ากับแฟนเพจ การใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวทำธุรกิจคือการให้ลูกค้า คู่ค้า หรือผู้ที่สนใจเข้ามาดูชีวิตส่วนตัวของเราได้ (ผ่านบัญชี Facebook ส่วนตัว) ซึ่งพวกเขาอาจจะเห็นโพสต์ที่เราขายสินค้าก็ได้ แต่ขณะเดียวกันลูกค้าก็จะเห็นโพสต์ส่วนตัวของเราผู้ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจด้วย โดย Content นั้น อาจจะมีรูปภาพครอบครัวของเรา เพื่อนของเรา ภาพตลก ๆ ของเรากับเพื่อน รวมถึงโพสต์แสดงความคิดเห็นหรือแสดงความรู้สึกต่อเรื่องบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัวมากเกินไปและอาจมีบางแง่มุมที่ก่อให้เกิด “ความไม่น่าเชื่อถือ” หรือ “ความคลางแคลงใจ” ในสินค้าหรือธุรกิจที่เราทำอยู่ก็เป็นได้ จนลูกค้าตัดสินใจ “ไม่ซื้อค่ะ” เหตุผลข้อที่ 3: เฟสบุ๊คส่วนตัวไม่สามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกของเพจ/โพสต์ได้…
เฟสบุ๊คได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการแล้วว่ากำลังจะยกเลิกยอด Like เพจให้เหลือแต่ยอด Follower แต่เพียงเท่านั้น เพื่อให้ผู้บริโภคลดความสับสน และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
Google Ads ถ้าพูดถึงคำนี้ ขวัญเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยยิงโฆษณากูเกิ้ลแอดอยู่แล้ว หรือพอรู้มาบ้างนะคะ ว่ามันคือการที่เราเอาเว็บไซต์ธุรกิจหรือเฟสบุ๊คแฟนเพจของเราไปโฆษณากับกูเกิ้ล เพื่อที่เวลาคนเสิร์ชคำที่เป็นคีย์เวิร์ดธุรกิจของเรา กูเกิ้ลก็จะแสดงเว็บไซต์ธุรกิจของเราเป็นอันดับแรก ๆ ของการค้นหา อยู่ในหน้าแรกของกูเกิ้ลเลยค่ะ อันนี้คือที่คนส่วนใหญ่ทราบกัน แต่ทราบหรือไม่คะว่าGoogle Ads แบบนี้ เป็นพียงประเภทเดียวของการโฆษณากูเกิ้ลค่ะ จริง ๆ แล้ว เราสามารถโฆษณากูเกิ้ลแอดได้อีกหลายประเภทเลย รวมไปถึงการโฆษณา Youtube ก็ถือว่าเป็นการโฆษณาผ่านบัญชีกูเกิ้ลแอดลักษณะหนึ่งนะคะ ขวัญเลยจะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ ค่ะว่า การโฆษณากับกูเกิ้ลมีทั้งหมดกี่ประเภท มีอะไรบ้าง และที่สำคัญคือจะแนะนำด้วยค่ะว่าแต่ละประเภทเหมาะกับธุรกิจแบบไหน เพื่อที่ทุกคนจะได้เลือกนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองค่ะ ซึ่งครั้งนี้ ขวัญก็มีบทความสรุปให้อีกครั้งเหมือนเดิมที่ใต้คลิปนะคะ กดดูคลิปหรือเลื่อนลงไปอ่านได้เลยค่ะ Google Ads มีกี่ประเภท การแบ่งประเภทโฆษณาของกูเกิ้ลแอดจะแบ่งตามเครือข่ายโฆษณาของกูเกิ้ลค่ะ ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ทั้งหมด 5 เครือข่ายด้วยกัน จึงมีกูเกิ้ลแอด 5 ประเภทดังนี้ค่ะ ประเภทที่ 1: Search Ads …
SEO ถือว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบันนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการสร้าง Brand Awareness แล้วยังสามารถช่วยสร้างความน่าเชื้อถือให้ธุรกิจ ช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้ไว รวมถึงช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของเราได้อย่างดีเลยนะคะ ดังนั้นใครที่อยากให้แบรนด์ของตัวเองเป็นที่รู้จัก อยากให้เว็บไซต์ธุรกิจติดหน้าแรกกูเกิ้ล ให้ลูกค้าเสิร์ชกูเกิ้ลแล้วเจอเว็บไซต์ธุรกิจของเราก่อนเว็บคู่แข่งโดยที่ไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาจำนวนมาก ก็พลาดไม่ได้เลยค่ะกับการทำ SEO ซึ่งบทความนี้ขวัญจะมาเล่าเรื่อง SEO แบบเข้าใจง่าย ๆ ภายใน 5 นาที คนที่ไม่มีพื้นฐานเลยก็เข้าใจนะคะ ตามมาดูในคลิปด้านล่างกันได้เลยค่ะ หรือถ้าใครอยากค่อย ๆ อ่านทำความเข้าใจ ขวัญก็มีบทความสรุปให้ใต้คลิป เลื่อนอ่านได้เลยค่ะ SEO คืออะไร? ทำไมคนทำธุรกิจออนไลน์ต้องใช้เทคนิคนี้? ก่อนหน้าที่จะทำความรู้จักกับSEOหรือ Search Engine Optimization ขวัญอยากให้ทุกคนได้รู้จักกับ SEM เสียก่อนค่ะ เพราะSEO เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดที่เรียกว่า SEM ย่อมาจาก Search Engine Marketing ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดออนไลน์ยุคใหม่ที่ทุกธุรกิจต้องห้ามพลาด เพราะ SEM…
Line OA Quick Reply ฟีเจอร์ศำคัญอย่างหนึ่งของLine Official Account ที่ขวัญเชื่อว่าบางท่านอาจจะเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้างนะคะ หรือหลายคนตอนนี้อาจจะกำลังใช้งานอยู่แล้วก็ได้ เพราะไลน์OA Quick Reply จัดว่าเป็นการใช้งานที่ช่วยให้ชีวิตการตอบแชทของเหล่าแอดมินไลน์ธุรกิจดีขึ้น ง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นเพราะอะไร หาคำตามได้จากคลิปและบทความด้านล่างนี้ค่ะ Line OA Quick Reply คืออะไร คือ ฟีเจอร์ของไลน์ OA ที่ช่วยให้เราสามารถตอบคำถามลูกค้าได้เร็วขึ้นโดยคลิกเลือกคำตอบจากชุดคำตอบที่เราเซฟเก็บไว้ในระบบโดยไม่ต้องพิมพ์ใหม่ ให้นึกถึงเวลาที่เราใช้งานเฟสบุ๊คแฟนเพจ จะเห็นว่าเวลาที่เราตอบลูกค้าใน Facebook Massenger Inbox ของเพจธุรกิจ มันจะมีฟังก์ชันหนึ่งที่เรียกว่า Facebook Quick Reply อยู่ ซึ่งเกิดมาจากฐานความคิดที่ว่า ในความเป็นจริงเวลาที่ลูกค้าทักแชทมาหา มันจะมีชุดคำถามที่ลูกค้าทั่วไปส่วนใหญ่มักถามซ้ำ ๆ เดิม ๆ อยู่ อาทิเช่น ‘ร้านอยู่ที่ไหนคะ’ ‘ร้านเปิดกี่โมง’ ‘สินค้าใช้งานกับอะไรได้บ้าง’ เป็นต้น…